Checklist 7 หัวข้อ ก่อนการขอมาตรฐาน ISO 14064-1 การวัดปริมาณและการรายงานผลการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กร

December 13, 2023

มาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจก ISO14064 มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นวิธีปฏิบัติการที่ดี ในการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนาเสนอความเป็นสากลซึ่งสอดคล้องกับเทคนิคเกี่ยวกับปริมาณและรายงานด้านก๊าซเรือนกระจก และก่อให้เกิดความโปร่งใสในการดาเนินการการซื้อขายคาร์บอน
มาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจกสาหรับองค์กร ISO 14064 เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ว่าด้วยรายละเอียดของหลักการ และข้อปฏิบัติสาหรับการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ การติดตาม การรายงานผล และการตรวจสอบเอกสาร หรือการยืนยันผล ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ภายในขององค์กร หรือบริษัท รวมถึงเสริมสร้างกิจกรรม หรือการกระทาใดที่จะสามารถช่วยบริหารจัดการการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ซึ่งมาตรฐาน ISO 14064 ประกอบด้วยมาตรฐานย่อยที่สาคัญได้แก่

  • ISO 14064-1 เน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการประเมินปริมาณและการรายงานผลการปล่อย และการกาจัดออก ของก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร หรือบริษัท
  • ISO 14064-2 เน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการประเมินเชิงปริมาณ การติดตาม และการรายงานผลการลดลง และการกาจัดออกของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในระดับโครงการ
  • ISO 14064-3 เน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเอกสาร และการยืนยันผลปริมาณก๊าซเรือนกระจก
  • มาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจกนี้ช่วยในการออกแบบองค์กรของให้สามารถจัดการการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และความน่าเชื่อถือของการรายงานปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ซึ่ง ในบทความนี้จะนำไปสู่ 7 คำถามสำคัญก่อนการขอมาตรฐาน ISO 14064-1 การวัดปริมาณและการรายงานผลการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กร

1. เราจะรายงานการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้อย่างไร?

ขั้นตอนรายงานการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้

  • กำหนดขอบแขตการรายงานก๊าซเรือนกระจก
  • ชี้บ่งแหล่งปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • คำนวณหาปริมาณก๊าซเรือนกระจก
  • จัดทำรายงานบัญชีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
  • ทวนสอบรายงานบัญชีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2. เราจะมีส่วนรวมในการลดการปลดปล่อยและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไรบ้าง ?

องค์กรสามารถมีส่วนร่วมได้หลายวิธี เช่น การใช้พลังงานสะอาด, ปรับเปลี่ยนวิธีการกำจัดขยะเพื่อลดการฝังกลบ, ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นให้มีค่า GWP ต่ำๆ, การปลูกป่า เป็นต้น

3. ถ้าเริ่มดำเนินการรายงานการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะเลือกใช้ปีไหนเป็นปีฐานในการคำนวน?

องค์กรสามารถกำหนดปีฐานขึ้นได้เลยค่ะ โดยทั่วไปจะใช้ข้อมูล 1 ปีย้อนหลังหรือค่าเฉลี่ยต่อเนื่องหลายปี

4. CBAM คืออะไร

CBAM คือ คือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU

5. กลุ่มสินค้าสินค้าประเภทไหนบ้างที่ถูกพิจารณาตามระเบียบของ CBAM

สินค้า 7 กลุ่มแรก ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนสูง ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า ไฮโดรเจน และสินค้าปลายน้ำบางรายการ อาทิ น็อตและสกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า

6. ระเบียบของ CBAM เริ่มบังคับใช้เมื่อไหร่

CBAM Certificate เริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบวันที่ 1 ม.ค. 2026

7. สำหรับบริษัทที่ได้รับการรับรอง CFO แล้ว มีความประสงค์ที่จะขอการรับรอง ISO 14064-1 ต้องทำอย่างไร?

  • ปรับขอบเขตในการรายงานให้สอดคล้องกับ ISO 14064-1
  • จัดทำระบบเอกสารควบคุมในการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บทความที่เกี่ยวข้อง

Ecolodge พร้อมแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา
ข่าวธุรกิจApril 09, 2024

การขับเคลื่อนวิวัฒนาการที่ยั่งยืน: ISO 21401 และ Triple Bottom Line ในธุรกิจการท่องเที่ยว

การขับเคลื่อนวิวัฒนาการที่ยั่งยืนในธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน เป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติกำหนดให้ธุรกิจมุ่งเน้นการพัฒนาที่มีความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม มาตรฐานสากลเช่น ISO 21401 ช่วยสนับสนุนธุรกิจให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ การนำเข้ามาตรฐานนี้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ การสร้างประโยชน์ไม่เพียงแต่สู่กำไรเพิ่มขึ้นและสร้างคุณค่าต่อชุมชนและโลกใบนี้เป็นกระบวนการที่รวดเร็วและยั่งยืนในอนาคต
ชาวนาท้องถิ่นปลูกผักกาดหอม
ข่าวธุรกิจApril 05, 2024

ขั้นตอนของการทำ LCA เพื่อความยั่งยืน: การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม The process of conducting LCA for sustainability: Environmental Impact Analysis

การทำ LCA (Life Cycle Assessment) เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและสำคัญสำหรับการออกแบบและการตัดสินใจที่มีมิติทางสิ่งแวดล้อม โดยมีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน: การกำหนดเป้าหมายและขอบเขตของการศึกษา, การวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากร, การประเมินผลกระทบ, และการแปรผล ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนโยบายสิ่งแวดล้อม เช่น การออกแบบรถยนต์ที่ประหยัดพลังงานและมลพิษต่ำลง การออกแบบเสื้อผ้าที่ใช้วัสดุรีไซเคิล และการกำหนดมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ LCA เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
การทำฟาร์มชีวภาพในเรือนกระจก
ข่าวธุรกิจApril 02, 2024

ประโยชน์ของการดำเนินการ LCA: มุมมองจากผู้ผลิตและผู้บริโภค

การทำ LCA (Life Cycle Assessment) เกิดขึ้นเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ให้การประเมินอย่างเข้มงวดสำหรับฉลากสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมให้ผู้บริโภคตัดสินใจอย่างมีความรู้สึก การเข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสินค้าตลอดวงจรชีวิตจะกระตุ้นการตัดสินใจที่มีสิ่งแวดล้อมในข้อความ และเป็นการสนับสนุนให้พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Panoramic View of a Forest at Sunset
ข่าวธุรกิจMarch 29, 2024

การทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความสำคัญของการประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) เพื่อความยั่งยืน

LCA เสริมความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบันและอนาคต LCA (LifeCycleAssessment) มักใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การดึงวัตถุดิบ ผลิต การขนส่ง การใช้งาน ไปจนถึงการกำจัดเพื่อขอรับ Eco label โดย Eco label เป็นฉลากที่แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สีเขียวได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องศึกษาข้อมูล LCA ของผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง

ข่าวสารและข้อมูลเชิงลึก

  • บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด - สำนักงานใหญ่

100 Nanglingchee Road,

Chongnonsee, Yannawa, 10120,

กรุงเทพ, ประเทศไทย